Joyful Songkran festival
Due to our hot politic, this April seems to be hotter than last year. Luckily, the pleasant Songkran festival comes to alleviate our hot situation.
Not only Thailand held this festival but also Laos, Myanmar, Cambodia, Sibsongpanna State in China and Srilanka.
The word Songkran means move or change so this festival is the period that the sun moves close to our earth and all southeastern people regard this time as their new year. Moreover, this period is also the harvest season.
India is the first country holding this festival before the end of the year but there wasnt water war as today. After this festival spread over the Asia, water started to play the vital role in celebration, being the symbol of richness.
There are three days for this festival :
First day is called Songkran day, the last day of the year. People will clean their home to welcome the coming new year.
Second day is Wan Nao. People will bathe the Buddha image and all children will Rod-nam-dum-hua (pour water on the hands of revered elders and ask for blessing) their parents. Furthermore, they believed that saying the rough word on that day will bring the bad luck.
The last is Payawan Day, the beginning day of New Year. People will make merit for their happiness. In the north, they will bring a timber to prop the big tree for their long life. All male and female teenagers will water each other for removing all bad things. This is only one day that they will meet each other, doing activities at the temple together.
Now this belief is still visible only in the up-country because most people put more importance on water war. Cold water and ice replace Num-ob (Thai perfume). Powder and
. are new Songkran charm. Water war at Kao Sarn Road in Bangkok, Road around Chiangmai moat, Kao Nheaw Road in Khon kaen reflex new Thai Songkarn lifestyle.
Change can happen everywhere, it isnt wrong. It is inevitable. It is the way the world turns. For some its good for its not. Still this festival is remains wonderful roots and charm.
สงกรานต์ เทศกาลแห่งความเบิกบานและชุ่มฉ่ำ
เดือนเมษายนมาถึงอีกแล้วค่ะ อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นตามเคย เพื่อให้สมฉายาเดือนที่ได้ชื่อว่าร้อนที่สุดในรอบปี ปีนี้ความร้อนยิ่งดูเหมือนจะพุ่งสูงกว่าที่เคย เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองที่ระอุทะลุองศาเดือด โชคดีที่สงกรานต์มาทันเวลา ให้ทั้งคนไทย คนฝรั่งต่างชาติได้เย็นสบายคลายร้อนไปด้วยกัน
อันที่จริงสงกรานต์ไม่ได้มีแต่ในบ้านเรานะคะ เพื่อนบ้านอย่างลาว พม่า เขมร แคว้นสิบสองพันนาในจีน หรือแม้แต่ศรีลังกาก็มีเช่นกัน ถ้าจะพูดว่าสงกรานต์เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ก็คงไม่ผิดนักหรอกนะคะ
สงกรานต์ แปลว่าย้าย เคลื่อน หรือเปลี่ยน หมายถึงช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นปีใหม่ เพราะเป็นช่วงที่พระอาทิตย์โคจรมาใกล้โลกมากที่สุด และเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองฤดูเก็บเกี่ยวที่คนแถบนี้ปฏิบัติสืบต่อกันมาก่อนที่จะรับประเพรีสงกรานต์มาจากอินเดียเสียอีก
อย่างที่เล่าไว้ในตอนแรกว่าสงกรานต์มีขึ้นในวัฒนธรรมอินเดียก่อน เป็นการฉลองสิ้นปี แต่ยังไม่มีการเล่นสาดน้ำ จนเมื่อประเพณีนี้แพร่หลายมาสู่เอเชียอาคเนย์ ซึ่งคนแถบนี้มักมีพิธีกรรมบูชาเทวดาเพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวโดยมีน้ำเป็นเครื่องประกอบพิธีเฉลิมฉลอง เพราะน้ำเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ สันนิษฐานกันว่า ประเพณีการละเล่นเกี่ยวกับน้ำถูกรวมเข้ากับสงกรานต์ในช่วงนี่เอง
สงกรานต์แบ่งออกเป็นสามวันค่ะ
วันแรกเรียกว่าวันสงกรานต์ คือวันส่งท้ายปีเก่า ผู้คนจะปัดกวาดบ้านช่องให้สะอาด เตรียมต้อนรับปีใหม่
วันที่สองคือวันเนา หรือวันเน่า ประชาชนจะสรงน้ำพระ ลูกหลานจะรดน้ำดำหัวขอพรผู้เฒ่าผู้แก่ สมัยก่อนเราไม่ได้รดท่านจนเปียกโชกนะคะ แต่เราจะใช้น้ำอบหรือน้ำเย็นรดไปที่มือท่านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในภาคเหนือจะใช้น้ำส้มป่อยผสมเกสรดอกคำฝอย สีเหลือง กลิ่นหอมสดชื่นค่ะ ถือกันอีกว่าว่าห้ามพูดคำหยาบคาย หรือไม่ดี เพื่อความเป็นมงคล
วันสุดท้ายคือ วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก เป็นวันปีใหม่ค่ะ ผู้คนจะเข้าวัดทำบุญเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ภาคเหนือจะมีการแห่ไม้ไปค้ำต้นโพ เพื่อเป็นเคล็ดในการสืบอายุพระศาสนา เชื่อว่าจะทำให้อายุยืน หนุ่มสาวจะรดน้ำแก่กันเพื่อคลายร้อน และเชื่อว่าน้ำจะชำระความไม่ดีออกไป หนุ่มสาวเหล่านี้จะพบกันในวัดนั่นล่ะค่ะ พวกเขามาเที่ยวงานวัด มาทำบุญ หรือก่อพระเจดีย์ทรายกันในวันนี้
ปัจจุบันนี้ความเชื่อเหล่านี้ยังหลงเหลืออยู่แต่ในชนบทเท่านั้นนะคะ เพราะคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเล่นสาดน้ำสงกรานต์มากกว่า น้ำแข็ง น้ำเย็นเข้ามาแทนที่น้ำอบไทย แป้งและปืนฉีดน้ำคือเสน่ห์ใหม่ของสงกรานต์ ถนนข้าวสารในกรุงเทพ ถนนรอบคูเมืองเชียงใหม่ ถนนข้าวเหนียวในจังหวัดขอนแก่น ล้วนสะท้อนวิถีใหม่ของสงกรานต์ ที่วัยรุ่นมากมายสนุกสนานครื้นเครงร่วมกันตลอดวัน
ไม่มีใครถูก ไม่มีใครผิดค่ะ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นตามยุคสมัย แต่เป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของประเพณีเหล่านี้นั่นเอง |