>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Places  >> Saphan Phut
Untitled Document

Saphan Phut

Address:เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) ฝั่งกรุงเทพฯ ถ.ตรีเพชร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ10200
Phone:(662) 674-8182 to 3, (662) 674-8700
Fax :(662) 212-4696
 
สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
พ.ศ.2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริให้มีการจัดงานเฉลิมฉลองการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี ครบ 150 ปี โดยโปรดฯให้สร้างสิ่งซึ่งจะเป็นอนุสรณ์ถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร ทรงเห็นว่าเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะสร้างสะพานเชื่อมพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ร่วมกันรำลึกถึงโอกาสที่รัชกาลที่ 1 ทรงย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร โดยโปรดฯให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 1 ไว้ที่เชิงสะพานฝั่งพระนครด้วย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 ทรงเครื่องขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระราชบัลลังก์ หล่อด้วยสำริด

สำหรับสะพานนั้นบริษัททดอร์แมนลอง จากประเทศอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เป็นสะพานเหล็กยาว 229.76 เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร สามารถยกสะพานขึ้นลงเพื่อเปิดทางให้เรือขนาดใหญ่ผ่านได้ ออกแบบให้มีรูปลักษณ์เหมือนลูกศร มีปลายอยู่ที่ฝั่งธนบุรี งบประมาณในการสร้าง 4 ล้านบาท ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ 7 ส่วนหนึ่ง รัฐบาลส่วนหนึ่ง และเงินบริจาคของประชาชนส่วนหนึ่ง รัชกาลที่ 7 ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475
พระราชทานนามว่า “สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์” แต่ประชาชนนิยมเรียกกันว่า “สะพานพระพุทธยอดฟ้า” มาจนปัจจุบัน ด้วยที่เชิงสะพานเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์
ในสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.2488 ฝ่ายพันธมิตรทิ้งระเบิดหมายจะทำลายสะพานพระพุทธยอดฟ้าและโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ซึ่งอยู่ใกล้กัน แต่ระเบิดไม่ได้ทำความเสียหายให้สะพานพระพุทธยอดฟ้าเลย ปัจจุบันนอกจากจะเป็นสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของกรุงเทพแล้ว สะพานพระพุทธยอดฟ้า ยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คน ในเวลาตั้งแต่ 18.00 น.- 23.00 น. บริเวณเชิงสะพานฝั่งพระนครจะมีตลาดนัดใหญ่มีสินค้ามากมาย โดยเฉพาะเสื้อผ้า เครื่องประดับ เป็นที่นิยมของบรรดาวัยรุ่น นอกจากนี้ยังเป็นที่ขายงานศิลปะของบรรดานักศึกษาเพาะช่างอีกด้วย ตลาดนัดสะพานพุทธฯ เปิดทุกวันยกเว้นวันจันทร์
Untitled Document
Updated :25 ???????????????????????? 2550
Page View : 48665
 
 
 
 
 
Related Articles

Muang Boran on A Segway
It's been a while since we've been to the Ancient City. When we heard there is a...

Kaosan Road
The word Kaosan in Thai means rice, this use to be a place where rice are sold (...

Golden Mount
Wat Saket's(sometime spelled "Wat Srakes") major feature is The Golden Mountain....

Wat Arun
Wat Arun or Temple of the Dawn is name after the Indian god of the dawn-Aruna. (...

Snamluang Park
.Sanamluang Park is on of the largest open space park where many activities and ...

Wat Pra Chetupon
( wat po )

This large and extensive temple neighbours the Grand Palace on Thay Wang Road an...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com