>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Travel  >> จังหวัดอุดรธานี
Untitled Document

จังหวัดอุดรธานี

Address:จังหวัดอุดรธานี
 
คำขวัญประจำจังหวัด
"น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์"

ตราประจำจังหวัด
รูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483

อุดรธานี ตั้งอยู่บนที่ราบสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่เส้นรุ้งที่ 17 อาศาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ระยะทางประมาณ 562 ก.ม. อุดรธานี มีพื้นที่ 11,730.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.362 ล้านไร่ แบ่งการปกครอง ออกเป็น 18 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ อำเภอศรีธาตุ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอสร้างคอม อำเภอทุ่งฝน กิ่งอำเภอนายูง และกิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์

สภาพภูมิประเทศ
โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทาง จ.หนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตก มีภูเขาและป่าติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาว ตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจน จรดทางใต้สุดเขต จ.อุดรธานี มีลักษณะแบ่ง จ.อุดรธานี ออกเป็นสองส่วน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200-700 เมตร

สภาพภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาล้อมรอบทาง ด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น อยู่ทางตะวันตก เทือกเขาสันกำแพงและ พนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่ เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝน จ.อุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและ อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภมิ สูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วนฤดูหนาวเคยมี อุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 อาศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ .. จดจังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ .. จดจังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์
ทิศตะวันออก .. จดจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันตก .. จดจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย
ประวัติศาสตร์จังหวัดอุดรธานี
ดินแดนที่เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีการขุดค้นทางโบราณคดีที่สำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ความเป็นมาของมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดค้นที่บ้านเชียง จ.อุดรธานี นับเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทางโบราณคดีไปทั่วโลก

วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ด้วยเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคโลหะ คือเมื่อประมาณ 5,000 กว่าปีมาแล้ว มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี รู้จักทำการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ นิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากสำริด และเหล็ก รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาสีเทา ลายขูดขีด ลายเชือกทาบและขัดมัน ลายเขียนสี รูปทรงและลวดลายต่าง ๆ มากมาย จากการคำนวณหาอายุโดยใช้วิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (THERMOLUMINES CENSE) ที่ห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีภาชนะบ้านเชียงอายุประมาณ 5,000-7,000ปี ซึ่งเก่าแก่กว่าที่ค้นพบที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
นายชิน อยู่ดี ภัณฑารักษ์พิเศษของกรมศิลปากร ได้ให้ความเห็นว่า "…เป็นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชียอาคเนย์…" และอาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลกก็เป็นได้
นอกจากนั้นชาวบ้านเชียงโบราณยังรู้จักทำเครื่องจักสาน ทอผ้า มีประเพณีการฝังศพ ฝังสิ่งของ เครื่องใช้ อาหารรวมกับศพเป็นการอุทิศให้กับผู้ตาย

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อำเภอบ้านผือ
กรมศิลปากรพบขวานหินขัดของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่าขวานฟ้า ในอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และที่บริเวณเทือกเขาภูพาน ใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ หรือเพิงถ้ำของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่บริเวณถ้ำลาย บนเทือกเขาภูพาน บ้านโปร่งฮี ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ ถือเป็นร่องรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้
หลักฐานการตั้งหลักแหล่งของมนุษย์ในอาณาบริเวณของจังหวัดอุดรธานีมีความต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคทวาราวดี (ประมาณ พ.ศ.1200-1600), ยุคลพบุรี (พ.ศ.1200-1800), ยุคสุโขทัย (พ.ศ.1600-1900) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด จังหวัดอุดรธานีได้รับการประกาศยกฐานะเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงไม่ปรากฏชื่อเมืองอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์พงศาวดารในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ทั้งนี้ชื่อสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นอำเภอที่ขึ้นการปกครองกับจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบันนั้น เช่น เมืองหนองบัวลำภู เป็นต้น
เมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง โดยมีการประกาศรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเทศาภิบาล โดยรัชกาลที่ 5 ทรงส่งข้าหลวงต่างพระองค์ไปปกครองดูแลต่างพระเตรพระกรรณ เมืองอุดรธานีได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวพวน หรือมณฑลอุดร โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดี กระทรวงวัง เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์บัญชากรอยู่ที่เมืองหนองคาย
กระทั่งปี พ.ศ.2499 เมืองอุดรธานีจึงได้รับการประกาศยกฐานะให้เป็นจังหวัดอุดรธานีมาจนกระทั่งปัจจุบัน

การเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทาง 564 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน รถออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ตลาดหมอชิต) สอบถามรายละเอียดได้ที่
บริษัท ขนส่ง จำกัด 02-9362852-66
สถานีขนส่งอุดรธานี แห่งที่ 1 ถ.สายอุทิศ 042-221489
สถานีขนส่งอุดรธานี แห่งที่ 2 ถ.รอบเมือง 042-247788
บริษัท 407 พัฒนา (02)-2725272
บริษัท ชาญทัวร์ (02)-2725205
บริษัท เชิดชัยทัวร์ (02)-2725264
รุ่งประเสริฐทัวร์ อ.เมืองอุดรธานี 042-343616
อ.กุมภวาปี 042-203099
อีสานทัวร์ 042-344355

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการวิ่งรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน รายละเอียด สอบถามได้ที่ โทร. 042-222061,2237010, 2237020กรุงเทพ-อุดรธานี
Departure…… (Bangkok)……. Arrival (Udon Thani)… Train…………………… (No.) 06.15………….. 08.20…………… 19.00…………… 20.30…………… 20.40…………… 15.57………… 17.05 05.15 06.25 06.05 Bangkok-Nongkhai ….(33) Bangkok-Udonthani (945) Bangkok-Nongkhai (29) Bangkok-Nongkhai (3) Bangkok-Nongkhai (947) รถเร็ว 137 ด่วนดีเซลราง 75 รถเร็ว 133 รถด่วน 76 รถด่วนดีเซลราง 77

อุดรธานี-กรุงเทพ
Departure (Udon Thani) Arrival (Bangkok) Train (No.) 08.53 07.00 18.39 19.55 20.35 18.40 15.50 05.00 06.10 05.40 Nongkhai-Bangkok (34) Udonthani-Bangkok (946) Nongkhai-Bangkok (30) Nongkhai-Bangkok (4) Udonthani-Bangkok (948) รถเร็ว 138 ด่วนดีเซลราง 76 รถเร็ว 134 รถด่วน 70 รถด่วนดีเซลราง 78 ท่านสามารถตรวจสอบตางรางรถไฟ ได้ที่

เครื่องบิน
บริษัทการบินไทย จำกัด จัดบริการเครื่องบิน กรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ ที่โทร. 2800070, 2800080
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี
พิพิธภันฑสถานอุดรธานี
พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี จัดตั้งขึ้นในอาคารราชินูทิศ ซึ่งเป็นอาคารเก่า สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 พิพิธภัณฑ์ฯนี้จัดเปิดทำการให้บริการแก่ประชาชนเข้าเยี่ยมชมตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2547 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนาจังหวัดอุดรธานีที่ชาวเมืองได้จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 111 ปี

พระพุทธบาทบัวบก
คำว่า "บัวบก"เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามป่ามี หัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาทจึงเรียกว่า "พระพุทธบาทบัวบก"หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่ บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลง ไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 80 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธ บาทไว้ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่า ออก แล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธ บาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรม สารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์ พระธาตุพนมทุกๆ ปีในช่วงเดือน 3 ขึ้น 13-15 ค่ำ จะมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก ประจำปี

วังนาคินทร์คำชะโนด
ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมากในประเทศไทย ภายในป่าชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่าบ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำ จากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุทโธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ใน ความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ใน เมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมืองมนุษย์ เดินทางไปได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ. บ้านดุต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ12 กม.

สวนกล้วยไม้อุดรซันไชน์
จากตัวเมืองไปราว 2 กม. ตามถนนเลี่ยงเมืองใกล้แยกไปจังหวัดหนองคายเลี้ยวเข้าทางแยกไปหนองสำโรงใกล้กับสนามกอลฟ์มีป้ายบอกบริเวณสวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ ตั้งแต่เช้ามืดไปจนราวบ่ายโมงกลิ่นของกล้วยไม้จะหอมตลบอบอวล ถือเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในโลกที่สามารถนำไปสกัดเป็นน้ำหอมได้ มีกล้วยไม้ และน้ำหอม จำหน่าย ที่สวนและตามร้านสินค้าพื้นเมืองอุดรธานีคุณประดิษฐ์ คำเพิ่มพูล เจ้าของ และผู้คิดค้นมีโครงการค้นคว้าทางด้านธรรมชาติ และการเกษตรที่น่าสนใจอีกหลายโครงการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ถือเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งทางโบราณคดีแห่งแรก ในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดิน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุซึ่งส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่ จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวและวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่ แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณ รวมทั้งโบราณวัตถุและ นิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดิน ทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (อุดรธานี--สกลนคร) ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปาก ทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข2225 อีกประมาณ 6กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิภัณฑ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้ง แต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชมคนละ5 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ หอนางอุสา คอกม้าท้าวบารส วัดลูกเขย วัดพ่อตา เป็นต้น
สถานที่พัก
โรงแรมบ้านเชียง
ที่อยู่ : 5 ถนนมุขมนตรี อำเภอเมือง จ.อุดรธานี
โทร : 0 4232 7911
website : http://www.banchianghotel.com
จำนวนที่พัก 149 ห้อง, ราคา 960 - 4,800 บาท

โรงแรมนภาลัย
ที่อยู่ : 572 ถนนประชารักษา อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทร : 0 4234 7444 website : http://www.napalaihoteludon.com จำนวนที่พัก 252 ห้อง, ราคา 700 - 900 บาท

เจริญศรี แกรนด์ รอยัล
ที่อยู่ : 271/5 ถนนประจักษ์ อำเภอเมือง จ.อุดรธานี website : http://www.charoensrigrand.com/ โทร : 0 4234 3555 จำนวนที่พัก 255 ห้อง, ราคา 1,400 - 24,000 บาท

ร้านอาหาร

ฟาโรห์ ที่อยู่ : . อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4237 2557

กู๊ดเอวีรี่ติง ที่อยู่ : 43/2 ถนนเพาะนิยม อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 5544

บอนกาแฟ สาขาอุดรธานี ที่อยู่ : 224/55 ถนนประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 9720

ญี่ปุ่นคิทาโร่ ที่อยู่ : 300/7-8 ถนนประจักษ์ สี่แยกเจริญศรีคอมเพล็กซ์ อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 3094

จึงสอาด ที่อยู่ : 44/45 ถนนอดุลยเดช(สี่แยกธิเบต) อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 7623,0 4234 3474

ข้าวต้มกันเอง ที่อยู่ : 21 ถนนพรานพร้าว อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4222 2582

ไข่กระทะเลิศรส ที่อยู่ : 78 ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 0389

ข้าวเปียก ที่อยู่ : 32/4 ถนนศรีสุข อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 4138

อุดรโภชนา ที่อยู่ : ถ. โพศรี อำเภอเมือง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4222 1756

ห้องอาหารเมย์แฟร์ ที่อยู่ : ในโรงแรมเจริญโฮเต็ล ถ. โพศรี อำเภอเมือง จ.อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4224 8155
Untitled Document
Updated :01 December 2010
Last Edit :01 December 2010
Page View : 86328
 
 
 
 
 
Related Articles

Phanom Rung Historical Park
....

Sdokkokthom
....

Gate of Truimph ,Laos
Nearby Phra That Luang Vientiane, situated the Gate of Truimph built in 1962 or ...

Phra That Luang Vientiane, Laos
Throughout the history close relationships between Thais and Laotians, as it is ...

Nam Noeng Sausages
Nam Noeng Sausages: Northeastern food (I-San food) influenced by Vietnam Duri...

Phu Phra Bat Historical Park, Udon Thani
There are ten archaeological sites in Thailand that have been announced “Histori...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com