>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Places  >> Phyathai Palace
Untitled Document

Phyathai Palace

Address:315 ratchathewi rd,Ratchathewi district Bangkok 10400 Tel.02 -354 -7987,02-354-7732
 
The Phrayathai Palace harmonized prominent Thai architecture with foreign arts congenially. On the reign of King Rama 5th , The Palace was so stuffy and narrow so the King was pleased to build a residence around Phrayathai field named Phrayathai barn. A small and large residence were built was a reside of the royalty, on almost the end of the reigh. King Rama 5th was reside here before he pass away just one week. In the beginning of King Rama the 6th reign, Phrayathai Palace was a palace of HM. Queen Saowabha. Until HM. Queen Saowabha passed away, King Rama the 6th moved to stay here permanently and pleased to build a High-dome European Architecture Palace which suit for tropical climate. He was pleased to reproduce Dusit Thani (Democracy city).

พระราชวังพญาไท
สถาปัตยกรรมในประเทศไทยมีลักษณะเด่นที่สามารถผนวกเอาศิลปกรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานได้อย่างลงตัว และในหมู่สถาปัตยกรรมอันเลอค่าเหล่านั้น พระราชวังพญาไทนับว่าโดดเด่น มีเอกลักษณ์ และยังมีลมหายใจอันแผ่วเบาอยู่ ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำริว่าพระบรมมหาราชวังอับทึบ คับแคบ ไม่เป็นที่ทรงสบาย โปรดให้สร้างสถานตากอากาสนอกเมือง บริเวณทุ่งพญาไท พระราชทานนามว่า โรงนาที่ทุ่งพญาไท ในตอนปลายรัชกาลโปรดให้มีการก่อสร้างพระตำหนักน้อยใหญ่ขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ครั้งสุดท้ายที่เสด็จประพาสตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม 2453 ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ในตอนต้นรัชกาลที่ 6 พระราชวังพญาไทเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สถานที่แห่งนี้มีความรื่นเริงครึกครื้นเป็นอย่างยิ่ง จวบจนเมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จมาประทับเป็นการถาวร โปรดให้สร้างสิ่งต่างๆขึ้น เช่น พระตำหนักอันงดงามที่ดัดแปลงสถาปัตยกรรมยุโรปอันหรูหราอ่อนหวาน ให้เข้ากับภูมิอากาศแบบไทย คือให้มีเพดานโดมสูง แหลม เพื่อถ่ายเทอากาศ ให้มีหน้าต่างรอบทิศเพื่อรับลม โปรดให้สร้างเมืองจำลองดุสิตานีไว้ท้ายวัง เพื่อทรงติดตามผลการทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
On the reign of King Rama 7th, Phrayathai Palace was changed to the first class hotel, most luxurious of Southeast asia. Later then, Part of Phrayathai Palace was a Bangkok broadcast passed on King Rama 7th speech. In 1932 AD., was changed to an army surgeon officer. Until 1940 was fully changed to Army Hospital. Then hospital was changed the name to “King Rama 6th Hospital” as his honor.

ในแผ่นดินรัชกาลที่ 7 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 พระราชวังพญาไทถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง ซึ่งได้ชื่อว่าหรูหราที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ต่อมา พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 โปรดให้ใช้ส่วนหนึ่งของวังพญาไทเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯที่พญาไท ถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2473 ตุลาคม 2475 กองเสนารักษ์ จังหวัดทหารบกกรุงเทพ ฯ ได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่พระราชวังพญาไท จนกระทั่งถึง พ.ศ.2483 กองทัพบกได้พัฒนากองเสนารักษ์ มณฑลทหารบกที่ 1 เป็นโรงพยาบาลทหารบก ใช้พื้นที่ภายในเขตพระราชฐานทั้งหมด เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 6 กองทัพบกจึงขอพระราชทานนามโรงพยาบาลทหารบกเป็น "โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า" ซึ่งได้ประกอบพิธีเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคต
Untitled Document
Updated :22 February 2010
Last Edit :22 February 2010
Page View : 39365
 
 
 
 
 
Related Articles

Muang Boran on A Segway
It's been a while since we've been to the Ancient City. When we heard there is a...

Kaosan Road
The word Kaosan in Thai means rice, this use to be a place where rice are sold (...

Golden Mount
Wat Saket's(sometime spelled "Wat Srakes") major feature is The Golden Mountain....

Wat Arun
Wat Arun or Temple of the Dawn is name after the Indian god of the dawn-Aruna. (...

Snamluang Park
.Sanamluang Park is on of the largest open space park where many activities and ...

Wat Pra Chetupon
( wat po )

This large and extensive temple neighbours the Grand Palace on Thay Wang Road an...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com