>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Articles  >> History of Loy Krathong
Untitled Document

History of Loy Krathong

 
A crowd with flickering light of candles and color of flowers decorating floating object is familiar scene in a celebration occurring in a twelfth month in lunar calendar. It is one of wonderful Asian cultures when rivers and canals are full of water. Since we have been a kid, I guess everyone must be impressed with this festive occasion in November - Loy Krathong. Most of us are convinced that floating objects or Krathongs are originated in Sukhothai by Tao Sri Chulalak or Nang Noppamas, who was one of Phra Ruang’s wives. However, some assert that the story was written in the reign of Rama III merely to advocate women on role model of a good wife, as no evidence is found to prove the festival’s existence. They believe that Loy Krathong has just been celebrated since the end of Ayutthaya. Despite the confusing history, this gracious culture is still alive. People still conducts this ritual not only to worship the footprint of the Buddha on a riverside in India, but also to pay respect to Chulamanee Chedi in heaven. Another well-known purpose is to show their gratitude to the Goddess of the Water on their plentiful use of water and ask for forgiveness in the ensuing pollution. Moreover, many people believe that floating the beautiful Krathong away also refers to flying away misfortune and bad things in the past and asking for good luck in the future.

In the past, people in Lanna Kingdom in the north of Thailand also show respect to rivers, but they use fire instead. They float a lantern like a hot-air balloon in the sky which is called Yee Peng. And now we still can find this celebration in Chiang Mai. Interestingly, people other than Thais have the similar tradition. Not far from us, Laos float Pratips (or our Krathong) and Lai Rue Fai (or flowing an ablaze boat) in worship of Water Goddess. This rite is also used to welcome the Buddha after His return from preaching to His mother in the second heaven. In Cambodia, this period is called Ok Ambok which means worshipping the moon. They float Pratips on a full moon night as well. Another neighboring country as Burma has the same culture. They float Krathong to worship the Buddha and Nut or household spirit. Looking upward farther, some of us may be surprised that Vietnam, Korea and Japan have the similar rituals too. They apologize the Water Goddess and float away ill fortune. It is assumed that the origin is Mahayana Buddhism which was expanded from China. On the other hand, Indians claim that they are the root of this ceremony derived from Brahmin. This festival is aimed to worship Naraya God who sleeps in the milk ocean and He then will throw our sin away.

In Thailand, people enjoy creating their own Krathong made from natural resources, such as leaves and trunks of banana adorned with flowers. Some might use bread instead of synthetic materials showing their concern for environment. Other than flowers, a candle and incense sticks, we often put some coins or betel pepper and nut in our Krathongs. And that’s why our Krathongs can’t drift any further as they are raided for little money. Nevertheless, Loy Krathong Festival remains the most romantic and favorite occasion for a number of people and still best represents our gratitude.

Related Articles..
วิถีแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมแห่งเอเชีย
ท่ามกลางแสงจันทร์ในคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสอง ซึ่งตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนแบบนี้ บนสายน้ำที่หลากไหลท่วมท้นทั้งสองฟากฝั่ง แสงเทียนนับร้อยนับพัน วูบวับระริกไหวเคลื่อนไปตามแรงกระแสน้ำ คือภาพอันน่าจำเริญตาของประเพณีที่เจนใจคนไทยมาช้านาน ประเพณีลอยกระทง... คนไทยเริ่มลอยกระทงมาตั้งแต่เมื่อใดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้ครั้งหนึ่งเราจะถูกอบรมบ่มเพาะกันมาแต่เล็กแต่น้อยให้เชื่อว่า โคมลอยน้ำรูปดอกบัวนี้ถูกประดิษฐ์คิดขึ้นโดยยอดหญิงงามนามว่า“ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” หรือ “นางนพมาศ” สนมเอกของพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย โดยมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในวรรณกรรมชื่อ “ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์“ แต่ความเชื่อนี้ก็ถูกสั่นคลอนจากนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้เก่าไปกว่ารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ดังนั้นลอยกระทงจึงไม่ได้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถึงแม้จะทำให้ผู้คนสับสนงงงัน แต่ทฤษฎีใหม่ก็ไม่สามารถลบล้างประเพณีอันดีงามและทรงคุณค่านี้ไปได้ ไม่ว่าจะเริ่มต้นมีมาแต่ครั้งใด ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า ทุกวันนี้คนไทยทุกชนชั้น ทุกอาชีพยังคงลอยกระทงกันอยู่ ทั้งเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่เชื่อกันว่าประดิษฐานอยู่บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที (ปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพัททา แคว้นทักขิณาบถ ประเทศอินเดีย) เพื่อบูชาพระเจดีย์จุฬามณี บนสวรรค์ เพื่อขอขมาพระแม่ คงคา หรือเพื่อลอยทุกข์โศกไปกับสายน้ำก็ตาม อันที่จริงใช่เพียงคนไทยเท่านั้นที่มีประเพณีลอยกระทง หากยังมีอีกหลายวัฒนธรรมที่ร่วมลอยกระทงไปกับเราด้วย ...
ไม่ไกลจากเรานัก บ้านพี่เมืองน้องของเราอย่างประเทศลาว ก็มีประเพณีการบูชาแม่น้ำด้วยการลอยประทีปและไหลเรือไฟ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาคุณแห่งแม่น้ำโขงที่เลี้ยงดูพวกเขามา และเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จกลับมาจากการเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนในกัมพูชา ระยะนี้เป็นช่วงเทศกาล ออก อัมบก (Ok Ambok) ซึ่งหมายถึงเทศกาลบูชาพระจันทร์ พวกเขาจะทำ ประทีป (pratip) ซึ่งก็คือกระทง แล้วนำไปลอยบูชาพระจันทร์วันเพ็ญที่ฉายเงาสว่างไสวในลำน้ำ เหนือขึ้นไปจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม เกาหลี หรือญี่ปุ่น ก็มีพิธีกรรมในการขอขมาและลอยทุกข์ลงในน้ำเช่นกัน โดยสันนิษฐานกันว่าต้นแบบของความเชื่อนี้มาจากศาสนาพุทธแบบมหายานที่แพร่หลายไปจากจีน แน่นอน....จีนก็ลอยกระทงเหมือนกันกับเรา คู่ปรับเก่าของเราอย่างพม่า ก็ยังร่วมลอยกระทงไปพร้อมกัน นอกจากเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าแล้ว ชาวพม่ายังลอยกระทงเพื่อบูชาผีนัต (Nut) ซึ่งหมายถึงวิญญาณที่คอยคุ้มครองบรรดาสรรพสิ่งอยู่ทั่วไป เมืองเก่าทางเหนือของประเทศไทยซึ่งรียกกันว่าล้านนา ก็มีประเพณีลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำ พิเศษตรงที่ล้านนามีประเพณีบูชาด้วยไฟ โดยการจุดโคมที่เรียกว่า ประเพณียี่เป็ง โดยเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยขึ้นไปบนฟ้าคือการบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเท่ากับเป็นการปล่อยทุกข์โศกให้ลอยไปพร้อมโคม และแม่แบบของวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์อย่างอินเดีย ก็ยังคงมีการลอยกระทงกันอยู่ โดยเขาอ้างว่าวัฒนธรรมนี้เริ่มต้นที่นี่ เมื่อหลายพันปีก่อน... เริ่มต้นจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่ว่า เราควรลอยประทีปลงน้ำในคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสอง เพื่อบูชาพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่กลางเกษียรสมุทร และพระองค์จะทรงนำบาปเคราะห์ของเราลอยล่องไปกับประทีปอันนั้นด้วย ในบ้านเรา... เมื่อคืนเพ็ญกลางเดือนสิบสองเวียนมาถึง ผู้คนก็พร้อมใจกันทำกระทงเป็นโคมลอยรูปดอกบัวอันสดสวยจากวัสดุหลายหลาก ไม่ว่าจะเป็นกระทงแบบประเพณีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เข่นใบตอง หยวกกล้วย ประดับประดาดอกไม้สดนานาพันธุ์ หรือช่วงหลังจะสร้างสรรค์กระทงให้แปลกออกไป เช่น กระทงขนมปัง หรือกระทงพลาสติกซึ่งมักกลายเป็นปัญหาวุ่นวายเมื่องานจบทุกครา ในกระทงมีธูปเทียนปักไว้ บ้างมีหมากพลู เงินทองเล็กน้อยใส่ลงไป เชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคาระลึกถึงพระคุณที่ให้เราใช้น้ำในการดำรงชีวิต ได้อาบ ได้กิน และเพื่อเป็นการลอยเคราะห์บาปไปตามสายน้ำ แม้ว่าบ่อยครั้งกระทงน้อยจะลอยไปได้เพียงไม่ไกลก็มีอันต้องล้มคว่ำเพราะมิจฉาชีพที่ “ ปล้นบุญ ” กันหน้าตาเฉย ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ประเพณีลอยกระทงก็ยังคงสามารถสะท้อนภาพความผูกพันของคนกับสายน้ำออกมาได้อย่างงดงาม ทั้งยังสื่ออุปนิสัยกตัญญูรู้คุณของผู้คนเหล่านี้ได้อย่างแจ่มชัดที่สุด และจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าประเพณีลอยกระทงยังคงครองตำแหน่ง ประเพณีที่สุดแสนจะโรแมนติกในใจใครต่อใครอีกหลายคน....
Untitled Document
Updated :14 ?????????????????????????? 2550
Page View : 45496
 
 
 
 
 
Related Articles

Thailand's Fathers Day
The 5th of December is considered Thailand's Fathers day. The rest of the world ...

Jazz in Bangkok
For jazz lovers, they must have been waiting for their bigwig "Hua Hin Jazz Fest...

Father??s Day
เดือนธันวาคมเวียนผ่านมาอีกรอบ เป็นสัญญาณว่าปีใหม่ใกล้มาถึงแล้ว... อันที่จริงนับเ...

Religions and Beliefs in Thailand
มนุษย์มีความหวาดกลัวเป็นปมที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาแต่กำเนิด อันนำมาสู่ความปราร...

Long Journey to be the Nation of Thai
การพยายามค้นหาต้นตอความเป็นมาเป็นไปเพื่อรู้จักตัวเอง คือพฤติกรรมทางจิตวิทยาขั้นพ...

Thai Dog Year 2006
ปีใหม่ผ่านมาถึงอีกครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าไม่นับเรื่องที่เรามีอายุมากขึ้นอีกหนึ่งปี ก็...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com