>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Articles  >> Thailand: the Culture of Rice
Untitled Document

Thailand: the Culture of Rice

 
As soon as rain drops to the land, the weather is colder. And when the sign of rainy season comes, plant’s season starts. Thais plant rice for long time and develop continuously. Once Thais had ever had Pin-Thong rice, a Thai rice’s species and the best species of the world but now it becomes extinct. Luckily, now Thais has Jasmine rice which is well-known around the world.
Around 10,000 years ago, mankind found shifting-rice plant. After that about 5,000 – 10,000 years ago, they develop to be sown-seedlings plant then transplanted rice plant. The evidence of rice plant’s development was found at Ban-Cheang, Udonthani and Punghung cave, Mae Hongsorn.
With the advantage of Thailand’s landscape on plentifully low land, Thailand is top five rice exporter of the world. The rice export is not only gain tremendous profit to Thailand but also influences Thai culture.
The relationship with rice of Thais creates lots of rice’s culture such as goddess of rice’s worship (Mae Phosop), harvest’s cooperation, thresh rice, etc. Moreover, rice also influences on Thai proverb for example Kao-Yak-Mak-Pang which means everything is so expensive.
The royal ploughing ceremony (Jarod Pranangkan Raenakwan), presumed that Thais took the influence from India, is the ancient royal ceremony to encourage the farmers.
Originally, this royal ceremony was Brahman’s ritual. The ceremony starts with plowing by a perfect characteristic couple of cows to sow the auspicious rice. Then both cows will choose one of seven food including paddy, corn, grass, nut, sesame, water and alcohol for prophecy. Finally, King or the royal representative cast lots by pick up one of panung which are different size. All these prophecy are for the cultivation.
Now this ceremony takes place on 5th May of every year at Wat Pra Kaew. This is the beginning of cultivation’s season which King or his royal representative will be the first to plant.
Rice plays the biggest role on Thais’ activities. It is Thai main course, both rice and sticky rice. Furthermore, Thai rice is one of three Asian species including sticky rice, rice and Japanese rice. Rice is also an ingredient of Thai dessert like Kaowneaw Moon and Kaowneaw Sangkayha. Moreover, rice is a part of ritual because it is the symbol of richness which is protected by the goddess of rice. Rice is part of Thai culture, inherited from generation to generation and will be carried on forever

วัฒนธรรมข้าวของชาวไทย (Thailand : The culture of rice ) : Sappasit Iamsudjai ทันทีที่สายฝนหยาดแรกหยดลงสู่พื้นดิน บรรยากาศร้อนระอุของหน้าร้อนก็คลายลง ผืนดินกลับมา ชุ่มชื้นอีกครั้ง เมื่อสัญญาณแห่งฤดูฝนเริ่มต้นขึ้น การหว่านปลูกพืชพันธ์ก็เริ่มขึ้นแทบจะพร้อมๆกันนั้นด้วย คนไทยปลูกข้าวกันมานานแสนนาน และพัฒนามาจนถึงที่สุด ครั้งหนึ่งเราเคยมีข้าวพันธุ์ปิ่นทอง ซึ่งกล่าวขวัญกันว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีที่สุดในโลก น่าเสียดายที่วันนี้ข้าว แต่เราก็ยังเหลือข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นที่นิยมไปทั่วโลกเช่นกัน
เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์ค้นพบวิธีปลูกข้าวแบบนาเลื่อนลอย ก่อนจะพัฒนามาเป็นระบบนาหว่าน เมื่อ ๕,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา
ภูมิปัญญาด้านการปลูกข้าวพัฒนาสู่การปักดำ ดังพบหลักฐานครั้งแรกเป็นเมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีลักษณะคล้ายข้าวปลูก อายุราว ๓,๐๐๐ – ๓,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ในวัฒนธรรมบ้านเชียง จ.อุดรธานี และถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนแหล่งโบราณคดีมากมายในประเทศไทย ด้วยความได้เปรียบเรื่องที่ภูมิประเทศของไทย ที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มน้ำ มีดินตะกอนพัดพาอันอุดมสมบูรร์จากเทือกเขาน้อยใหญ่ทางเหนือ ทำให้ไทยมีการเพาะปลูกและส่งออกข้าวมากเป็นอันดับต้นๆของโลก นอกจากจะส่งผลมหาศาลต่อรายได้ของประเทศแล้ว ข้าวยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยอย่างยิ่งอีกด้วย ความผูกพันกับข้าวอย่างมากของคนไทย ทำให้เรามีวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าวหลากหลาย ตั้งแต่ประเพณี เช่น การทำขวัญพระแม่โพสพ เทพธิดาผู้รักษาต้นข้าว, การลงแขกเกี่ยวข้าว, การนวดและสีข้าว, เป็นต้น ไปจนถึงวัฒนธรรมด้านภาษาสำนวนที่ได้รับอิทธิพลจากข้าว เช่น ข้าวแดงแกงร้อน, ข้าวนอกนา, ข้าวยากหมากแพง เป็นต้น

พระราชพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีโบราณที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกรทั้งหลาย สันนิษฐานว่าไทยรับคตินี้มาจากประเทศอินเดีย เพราะในพุทธประวัติมีการกล่าวถึงเจ้าชายสิทธัตถะทรงตามพระราชบิดาไปในพระราชพิธีแรกนาขวัญ แต่เดิมพระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีทางศาสนาพราหมณ์ โดยจะจัดให้มีการไถคราดดินด้วยพระโคลักษณะดีหนึ่งคู่ เพื่อหว่านเมล็ดข้าวมงคลลงบนดินนั้น จากนั้นจะมีการเสี่ยงทายอาหาร ๘ อย่างให้พระโคเลือกกิน ประกอบด้วย ข้าว หญ้า ถั่วเหลือง งา น้ำ เหล้า ..........และเสียงให้พระมหากษัตรยิ์หรือผู้แทนพระองค์ ซึ่งเรียกกันว่าพระยาแรกนา เสียงหยิบผ้านุ่ง จากผ้า ๓ ผืน ซึ่งมีขนาดต่างกัน คือ ยาว ๔, ๕, และ ๖ คืบ การเสี่ยงทายทั้งหมดจะมีคำพยากรณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกทั้งสิ้น ปัจจุบันพระราชพิธีนี้ถูกกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ ๕ พฤษภาคมของทุกปี โดยแบ่งเป็นพิธีพุทธ คือ พระราชพิธีพืชมงคล จัดขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีพราหมณ์ คือ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จัดขึ้น ณ มลฑลพิธีสนามหลวง นับเป็นการเริ่มต้นการเพาะปลูก โดยพระมหากษัตริย์หรือผู้แทนพระองค์เป็นผู้เริ่มต้นทำนาก่อนเป็นปฐมฤกษ์ เพื่อกำลังใจที่ดีของพสกนิกรนั่นเอง ข้าวมีบทบาทอย่างมากในกิจกรรมต่างๆของคนไทย นับตั้งแต่เป็นอาหารหลัก โดยมีทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ซึ่งเป็นข้าวหนึ่งในสามชนิดของข้าวเอเชีย อันประกอบด้วย ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และข้าวญี่ปุ่น นอกจากของคาวแล้ว ข้าวยังสามารถนำมาปรุงเป็นของหวานได้อีกด้วย เช่น ข้าวเหนียวมูล ข้าวเหนียวสังขยา เป็นต้น
Untitled Document
Updated :04 ????????????????????? 2549
Page View : 43615
 
 
 
 
 
Related Articles

Thailand's Fathers Day
The 5th of December is considered Thailand's Fathers day. The rest of the world ...

Jazz in Bangkok
For jazz lovers, they must have been waiting for their bigwig "Hua Hin Jazz Fest...

Father??s Day
เดือนธันวาคมเวียนผ่านมาอีกรอบ เป็นสัญญาณว่าปีใหม่ใกล้มาถึงแล้ว... อันที่จริงนับเ...

Religions and Beliefs in Thailand
มนุษย์มีความหวาดกลัวเป็นปมที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาแต่กำเนิด อันนำมาสู่ความปราร...

Long Journey to be the Nation of Thai
การพยายามค้นหาต้นตอความเป็นมาเป็นไปเพื่อรู้จักตัวเอง คือพฤติกรรมทางจิตวิทยาขั้นพ...

Thai Dog Year 2006
ปีใหม่ผ่านมาถึงอีกครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าไม่นับเรื่องที่เรามีอายุมากขึ้นอีกหนึ่งปี ก็...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com