>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Articles  >> Khao Chae
Untitled Document

Khao Chae

 
Summer comes again so lots of people try to alleviate swelter. Many think of some cooling food like ice-cream, Nam Kang Sai (Thai dessert) another tasty Thai food with unique character, Kao Chae.
Now Kao Chae is catered both on roadside-shops and in restaurants. Kao Chae actually isn’t Thai food. It originated from the people of Mon, cooked to sacrifice Songkarn God. Making an original Kao Chae is a complicated procedure. “Kao Chae Sawei” or “Royal court Kao Chae” which we generally know nowadays is Kao Chae with jasmine water, it is served with side dishes which are fried shrimp paste and many color of boiled vegetable.
We called “Kao Chae Sawei” because the royal court attendant offer Kao Chae to King Rama V and it became one of his favorite dishes. After 1910, AD Kao Chae become well known widely in villagers and become special menu on Songkran day.
Momluang Neung Ninrat, the cook for King Rama V , she first brought recipe of Kao Chae to the ordinary thai society.
Secret technique, making Kao Chae become a specialty is the way jasmine water is made. We use jasmine to float on the water to give the water fragrant. In the past rain water is used but today mineral water is used instead. Water is kept in clay pot to keep it cool before wasn’t commonly used. Ice was used later on when it was made more easy to find.
Fried shrimp paste is the heart of Kao Chae. People will decide whose Kao Chae is best by tasting fried shrimp paste. We will eat Kao Chae with fried sweet pepper, sweet fish, salty beef, onion, and pork chop mix with fish. Moreover there are boiled vegetable such as cucumber, mango, goat pepper etc. to served with Kao Chae.
How to eat Kao Chae… Bring rice pour into jasmine water and add some ice. Have side dish first then follow with fragrant rice. “Kao Chae” shows Thai culture of consuming which is artistic and neatly culture. Kao Chae is the Thai heritage so we, Thai people should conserve this culture for eternity.

Thai food has been accepted all over the world. It is deeply synchronized with the Culture. Kao chae is another wonderful and unique Thai food that has reasonable supports of its origins. It shows the cleverness of adapting to the hot and humid climate (like the Thai house).
ข้าวแช่
ฤดูร้อนมาถึงอีกแล้วค่ะ อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ละคนก็หากลวิธีคลายร้อนมาใช้ต่างๆกันไป แต่เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงอาหารดับร้อนทั้งหลาย ประเภทไอศกรีม น้ำแข็งไส น้ำหวาน และอาหารคลายร้อนแบบฉบับดั้งเดิมของไทยอย่างข้าวแช่ ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่น่าลิ้มลองไม่แพ้กัน
เวลานี้ข้าวแช่เป็นอาหารจานเก๋ ที่หาทานได้ทั่วไป ตั้งแต่ร้านริมถนนไปจนถึงภัตตาคารสุดหรู แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า การเดินทางของข้าวแช่บนเส้นทางสายประวัติศาสตร์ก็น่าสนใจไม่แพ้หน้าตา และรสชาติของมันเลย
อันที่จริงข้าวแช่ไม่ใช่อาหารไทยแท้นะคะ เชื่อกันต่อๆมาว่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่ชาวมอญนิยมทำขึ้นสังเวยเทวดาในพิธีตรุษสงกรานต์ โดยจะมีกรรมวิธีทำที่ยุ่งยากซับซ้อน
ข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยกันอยุ่ทุกวันนี้ เรียกเต็มๆแบบเพราะพริ้งว่า “ข้าวแช่เสวย” หรือ “ข้าวแช่ชาววัง” ซึ่งหมายถึงข้าวแช่ลอยในน้ำดอกไม้หอมเย็นชื่นใจ ที่รับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ลูกกะปิทอดสีส้มจัด เครื่องผัดหวานสีน้ำตาลเข้ม และผักสีสวยทั้งหลาย ชื่อข้าวแช่ชาววังหรือข้าวแช่เสวยนี้มีที่มานะคะ หมายถึงข้าวแช่ที่ชาววังจัดถวายรัชกาลที่ ๕ แล้วโปรดเป็นอย่างมาก
พอบอกว่าเป็นอาหารชาววัง ใครๆก็อยากจะรับประทานทั้งนั้นนะคะ หลังจากสิ้นรัชกาลที่ 5 ในปี 2453 แล้ว ข้าวแช่ก็ออกสู่สังคม แล้วกลายเป็นดารายอดฮิตประจำเมนูหน้าร้อน โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์มาตั้งแต่นั้น
ข้าวแช่ตำรับที่มีชื่อมากที่สุด เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้นสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านถือเป็นคนแรกๆที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด และมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบันค่ะ
เสน่ห์ข้าวแช่อยู่ที่กรรมวิธีในการปรุง เพราะองค์ประกอบของข้าวแช่นั้นมีมากมาย เคล็ดลับในการทำและทานข้าวแช่ให้ได้อรรถรสจึงอยู่ที่การสังเกตไปพร้อมกับการลิ้มรสค่ะ
ข้าวแช่ก็ต้องมากับ “น้ำดอกไม้” ค่ะ ในฤดูร้อนดอกไม้ไทยต่างพากันชิงออกดอกส่งกลิ่นหอม น้ำที่นำมาใส่ข้าวแช่จึงได้อิทธิพลของดอกไม้เหล่านี้ด้วย นิยมใช้ดอกไม้ไทยที่มีกลิ่นหอมเย็นนะคะ
ส่วนน้ำที่ใช้แต่เดิมมักใช้น้ำฝนใสสะอาด แต่ปัจจุบันมีน้ำแร่ของไทยชนิดไม่อัดแก๊สบรรจุขวดก็นำมาใช้แทนกันได้ดี เวลาเตรียมมักใส่น้ำลงในหม้อดินมีฝาปิด เพื่อให้น้ำนั้นเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอก เวลาจะกินสมัยก่อนใช้เกล็ดพิมเสนโรยลงในน้ำเพียงสองสามเกล็ดเพื่อให้เย็นชื่นใจยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันหันไปใช้น้ำแข็งทุบละเอียดแทน
“ลูกกะปิทอด” ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกับข้าวแช่ จะดูกันว่าข้าวแช่ของใครที่มีฝีมือก็ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง ถัดมาก็มีพริกหยวกสอด, ปลายี่สนผัดหวาน,เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน,หัวหอมสอดไส้,ผักกาดเค็มผัดหวาน,ปลาแห้งผัดหวาน , หมูสับกับปลากุเลา คือเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่
ที่ลืมไม่ได้เลยคือผักสดแกะสลัก เมื่อกับข้าวแช่ส่วนใหญ่เป็นของทอด ก็ย่อมต้องมีผักที่ให้กลิ่นหอมและรสออกเปรี้ยวและขื่นนิดๆไว้ตัดรส แตงกวา กระชาย มะม่วงดิบ ต้นหอม กระชาย และพริกชี้ฟ้าสด จึงถูกนำมาจัดเป็นผักสดไว้กินแนมกับข้าวแช่
การกินข้าวแช่ก็ยังต้องมีวิธีการกินเช่นกัน เริ่มจากนำข้าวใส่ในน้ำลอยดอกไม้ให้สัดส่วนน้ำมากกว่าข้าวใส่น้ำแข็งเล็กน้อยพอให้เย็นชื่นใจ เวลาจะกินให้ตักกับข้าวใส่ปากแล้วตักข้าวตาม ก็จะได้รสชาติทั้งเย็นฉ่ำและความอร่อยกลมกล่อมของกับข้าว นี่คือสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินของไทยที่งดงาม ละเอียดอ่อน ไม่แพ้ชาติใดในโลก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์จากจินตนาการทิ้งไว้ให้กับชนรุ่นต่อๆมา เมื่อครั้งที่วัฒนธรรมจากตะวันตกยังมาไม่ถึง นับว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ชนรุ่นหลังควรรักษาไว้ให้ยั่งยืนสืบต่อไป.
Untitled Document
Updated :28 ???????????????????????? 2550
Page View : 87098
 
 
 
 
 
Related Articles

Thailand's Fathers Day
The 5th of December is considered Thailand's Fathers day. The rest of the world ...

Jazz in Bangkok
For jazz lovers, they must have been waiting for their bigwig "Hua Hin Jazz Fest...

Father??s Day
เดือนธันวาคมเวียนผ่านมาอีกรอบ เป็นสัญญาณว่าปีใหม่ใกล้มาถึงแล้ว... อันที่จริงนับเ...

Religions and Beliefs in Thailand
มนุษย์มีความหวาดกลัวเป็นปมที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาแต่กำเนิด อันนำมาสู่ความปราร...

Long Journey to be the Nation of Thai
การพยายามค้นหาต้นตอความเป็นมาเป็นไปเพื่อรู้จักตัวเอง คือพฤติกรรมทางจิตวิทยาขั้นพ...

Thai Dog Year 2006
ปีใหม่ผ่านมาถึงอีกครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าไม่นับเรื่องที่เรามีอายุมากขึ้นอีกหนึ่งปี ก็...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com