>
 
website hit counterStats
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Click for Bangkok, Thailand Forecast  
 
Untitled Document
| | |

Main  >> Articles  >> Father??s Day
Untitled Document

Father??s Day

 
เดือนธันวาคมเวียนผ่านมาอีกรอบ เป็นสัญญาณว่าปีใหม่ใกล้มาถึงแล้ว... อันที่จริงนับเป็นเดือนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศแห่งความสนุกสนานอีกเดือนหนึ่งของปี เพราะเป็นช่วงเวลาของเทศกาลงานรื่นเริง เช่น คริสตมาสต์ หรือวันสิ้นปี เป็นต้น
แต่สำหรับคนไทยแล้ว เดือนธันวาคมมีความพิเศษสุด เพราะเป็นศุภวาระมงคลที่พสกนิกรทั้งหลายจะได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นยิ่งกว่าประมุขของชาติ แต่เปรียบประดุจ พ่อแห่งแผ่นดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิน เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพระชนมายุได้ ๕ พรรษาพระบรมราชชนกทิวงคต พระองค์ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยและทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา เพื่อทรงศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช แต่ทั้งสองพระองค์ก็ยังประทับอยู่ต่างประเทศต่อมา
หลังจากนั้นพระองค์ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลกลับประเทศไทยอีกครั้ง ในพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตเป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงเสด็จกลับมาประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง โดยครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงจำต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม
ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร และในเวลาต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระราชโอรส พระราชธิดาทั้งสิ้น ๔ พระองค์
ในพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปประทับที่ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน
แม้จะทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความผูกพันกับประเทศไทยและประชาชนไทยเป็นอย่างยิ่ง สถานที่สำคัญอันเนื่องด้วยพระราชประวัติยังคงฉายร่องรอยแห่งความรักและอดีตอันงดงาม บนแผ่นดินที่พระประมุขทรงมีพระบรมราชานุญาติให้ราษฎรสามารถเข้าไปชื่นชมพระบารมี และยลยินความสงบ สง่างามของพระราชนิเวศน์ทั้งหลาย สื่อถึงสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่าง พ่อ กับ ลูก ทรงเปิด”บ้าน” ต้อนรับประชาชนทุกผู้ทุกคน ตั้งแต่พระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต หรือสถานที่สำคัญอันเนื่องมาจากพระราชประวัติต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสและ”เข้าถึง”พระองค์อย่างถ่องแท้ และเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในมรดกอันล้ำเลอค่าของบรรพชนไทยให้จารึกอยู่ในใจไทยชั่วนิรันดร์ .
Untitled Document
Updated :28 ???????????????????????? 2550
Page View : 54464
 
 
 
 
 
Related Articles

Thailand's Fathers Day
The 5th of December is considered Thailand's Fathers day. The rest of the world ...

Jazz in Bangkok
For jazz lovers, they must have been waiting for their bigwig "Hua Hin Jazz Fest...

Father??s Day
เดือนธันวาคมเวียนผ่านมาอีกรอบ เป็นสัญญาณว่าปีใหม่ใกล้มาถึงแล้ว... อันที่จริงนับเ...

Religions and Beliefs in Thailand
มนุษย์มีความหวาดกลัวเป็นปมที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกมาแต่กำเนิด อันนำมาสู่ความปราร...

Long Journey to be the Nation of Thai
การพยายามค้นหาต้นตอความเป็นมาเป็นไปเพื่อรู้จักตัวเอง คือพฤติกรรมทางจิตวิทยาขั้นพ...

Thai Dog Year 2006
ปีใหม่ผ่านมาถึงอีกครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าไม่นับเรื่องที่เรามีอายุมากขึ้นอีกหนึ่งปี ก็...
 
 

Back to Top

Copywright 2004 - 2009 www.At-bangkok.com All Rights Reserved
30 Sukumwit 85 Bangjak Prakanong Bangkok Thailand 10260 Tel. 662-331-1610, 662-331-1618 Fax. 662-331-1618
  email : pr@at-bangkok.com