The corral at Ayudhaya
Have you ever wondered how the old Thais caught elephants. The amazing answer lies on the corral.
The corral was an elephant trap, located at the suburb of Ayudhaya. The royal mahouts would herd elephants from the forest to the corral then king chose the nice one and ordered court official to catch it. The corral was built from locks lined up in the semicircle and spilt at the end of the line as the fence. It was first renovated in the reign of King Rama V for Royal ceremony in 1911
The corral was renovated in 1957 to show the whole process of elephant catching to King of Denmark. It was restored again in 1988 by Fine Arts Department. There is also elephant data source and elephant foundation. Now Mr.Sompat Meepan is the caretaker for this ancient place. You can see closely elephant training, feed, take a bath and how intelligent they are.
พระที่นั่งเพนียด
เคยสงสัยไหมคะว่า ในสมัยโบราณคนไทยจับช้างกันอย่างไร คำตอบอันน่าพิศวงอยู่ที่พระที่นั่งเพนียดค่ะ
ที่นี่ในสมัยก่อนตั้งอยู่ในป่าชานเมือง โดยใช้เป็นกับดักช้างสำหรับต้อนโขลงช้างในป่าเข้ามา เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงคล้องช้างลักษณะดีไปใช้งาน ลักษณะ เป็นคอกล้อมด้วยซุงทั้งต้น มีปีกกาแยกเป็นรั้วไปสองข้าง พนักงานกรมพระคชบาล ซึ่งดูแลเรื่องช้างจะปล่อยช้างต่อเข้าไปล่อช้างตัวใดตัวหนึ่งในโขลงช้างป่ามา จากนั้นช้างทั้งโขลงจะพากันเข้ามาในเพนียด เจ้าพนักงานจะต้อนช้างทั้งหมดให้เดินเข้ามาในปีกกาซึ่งจะมีพื้นที่แคบลงเรื่อยๆ คล้ายรูปกรวย ปลายสุดของปีกกาเป็นทางเข้าเพนียด จะมีประตูกลแขวนอยู่ ลักษณะเป็นท่อนซุงสี่ท่อน เพื่อป้องกันช้างหนีออก เมื่อช้างทั้งหมดเข้ามาอยู่ในเพนียดแล้ว พระมหากษัตริย์ซึ่งประทับทอดพระเนตรอยู่จะโปรดให้ผู้ที่ไว้วางพระราชหฤทัยลงมาคล้องช้าง ด้วยการพยายามนั่งบนหลังช้างให้ได้ จากนั้นจึงใช้บ่วงบาศขนาดใหญ่ที่เรียกว่า บาวงปะกำ คล้องไปที่เท้าช้าง
รอบเพนียดเป็นกำแพงดิน ประกอบอิฐเสมอยอดเสา ตรงกลางเป็นหอประดิษฐานพระเทวกรรม หมายถึงเทวรูปพระคเณศ ซึ่งถือกันว่าทรงเป็นครูของการจับช้าง ด้านหลังคอกตรงข้ามแนวปีกกาเป็นพลับพลาที่ประทับ สร้างขึ้นในรัชกาลพระมหาธรรมราชา ก่อนจะถูกพม่าเผาวอดวายในปี ๒๓๑๐ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดให้มีการบูรณะเพื่อจัดพระราชพิธีคล้องช้างในปี ๒๔๕๔
ตัวเพนียดที่เห็นในปัจจุบันนั้น ได้รับการบูรณะ เมื่อ พ.ศ. 2500 จากการสนับสนุนเงินของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อใช้ในการจับช้างถวายสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์กได้ทอดพระเนตร จนกระทั่งกรมศิลปากรบูรณะในปี พ.ศ. 2531 นอกจากนี้เป็นที่ตั้งของสถานคชศึกษา มูลนิธิคชบาล ซึ่งเป็นที่ฝึกและพยาบาลช้าง ปัจจุบัน คุณสมพาสน์ มีพันธุ์ เป็นผู้ดูแลและทำนุบำรุง เพื่อให้โบราณสถานนี้อยู่ตลอดไป คุณสามารถเดินทางไปชมการฝึกช้าง การให้อาหาร การอาบน้ำ และความน่ารัก แสนรู้ ของช้างไทยได้อย่างใกล้ชิด ที่นี่ |